ย้อนรอยเส้นทางสายไหมจากราชินีผู้ช่างสังเกต
ผู้หญิง เป็นเพศที่ช่างสังเกตในสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ที่อยู่รอบตัว และสามารถจดจำเรื่องราวต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ทั้งความช่างคิด ช่างสังเกต ทำให้เปลี่ยนโลกได้ ดังเช่น พระมเหสีเมืองจีนที่มีสิริโฉมงดงาม และมีพระสติปัญญาแหลมคม ด้วยทรงคิดค้นการประดิษฐ์ผ้าไหม จนตราบเท่าทุกวันนี้ ผ้าไหมยังได้รับความนิยมเสมอมา และเป็นสินค้าส่งออกของหลายประเทศ
จากประวัติศาสตร์จีนที่บันทึกไว้ว่า เมื่อราว 5,000 ปีที่แล้ว พระนางง่วนฮุย พระมเหสีเมืองจีนได้เสด็จออกชมสวน และสังเกตวามีตัวหนอนหลายตัวที่เกาะอยู่บนต้นหม่อนกำลังชักใยพันรอบตัว พระนางจึงดึงเส้นใยออกมา ทรงพิจารณาแล้วเห็นว่า เป็นเส้นใยคุณภาพดีที่มีความเหนียว และประกายเงางดงาม จึงทรงเลี้ยงตัวหนอนไหม และนำเส้นใยมาถักทอเป็นผืน
ผ้าไหมดังกล่าว เป็นที่เลื่องลือถึงความงดงาม และไม่มีใครทราบถึงที่มาของผ้าผืนดังกล่าวว่ามีเส้นใยมาจากอะไร และถักทออย่างไร ความลับของการทอผ้าไหมถูกเก็บนานหลายร้อยปีกว่าจะแพร่กระจายสู่นานาประเทศ พระมเหสีง่วนฮุยทรงได้รับฉายาว่า นางพญาแห่งหัตถกรรมไหม
จากประวัติศาสตร์จีนที่บันทึกไว้ว่า เมื่อราว 5,000 ปีที่แล้ว พระนางง่วนฮุย พระมเหสีเมืองจีนได้เสด็จออกชมสวน และสังเกตวามีตัวหนอนหลายตัวที่เกาะอยู่บนต้นหม่อนกำลังชักใยพันรอบตัว พระนางจึงดึงเส้นใยออกมา ทรงพิจารณาแล้วเห็นว่า เป็นเส้นใยคุณภาพดีที่มีความเหนียว และประกายเงางดงาม จึงทรงเลี้ยงตัวหนอนไหม และนำเส้นใยมาถักทอเป็นผืน
ผ้าไหมดังกล่าว เป็นที่เลื่องลือถึงความงดงาม และไม่มีใครทราบถึงที่มาของผ้าผืนดังกล่าวว่ามีเส้นใยมาจากอะไร และถักทออย่างไร ความลับของการทอผ้าไหมถูกเก็บนานหลายร้อยปีกว่าจะแพร่กระจายสู่นานาประเทศ พระมเหสีง่วนฮุยทรงได้รับฉายาว่า นางพญาแห่งหัตถกรรมไหม
ปฏิวัติชุดชั้นใน ... จากนักธุรกิจสาวหัวใส
ใครจะเข้าใจผู้หญิงได้ดีเท่าผู้หญิง พิสูจน์ได้จากวิวัฒนาการของชุดชั้นในสตรีของประเทศในแถบตะวันตกเมื่อร้อยกว่าปีมาแล้ว ที่มีความยุ่งยาก และไม่สะดวกในการสวมใส่ ต้องประกอบไปด้วยเครื่องยกทรง เครื่องรัดเอวและสะโพก เครื่องรัดทรง สายโยงกางเกง ซึ่งยุ่งยากมาก แต่ในปี ค.ศ. 1920 ชุดชั้นในผู้หญิงได้เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง เมื่อนักธุรกิจสาว 2 คนที่ทำธุรกิจเสื้อผ้าชื่อว่า ไอดา โรเซนธาล และเอนิด บิสเซต ได้สร้างยกทรงโดยการออกแบบที่คำนึงถึงโครงสร้างอย่างป็นธรรมชาติของมนุษย์ และความสะดวกสบาย จึงได้ชุดชั้นในที่สวมใส่สบาย และเหมาะกับผู้หญิงอย่างแท้จริง มีความสวยงาม และไม่แบนเรียบ เหมาะกับสรีระของผู้หญิง
รักนี้ไม่เปียกจากแม่บ้าน ผู้รู้จักดัดแปลง
สมัยก่อน คุณแม่จะใช้ผ้าฝ่าย หรือผ้าลินินพับเป็นผ้าอ้อมให้เด็ก ซึ่งไม่ค่อยสะดวกสบาย เมื่อลูกน้อยปัสสาวะก็ต้องเปลี่ยนบ่อยๆ แต่ในปี ค.ศ. 1946 มีแม่บ้านชาวอเมริกันนามว่า มาเรียน โดโนแวน ได้คิดค้น และประดิษฐ์สิ่งที่เธอเรียกว่า "โบทเตอร์" (Boater) โดยการดัดแผ่นพลาสติกจากม่านห้องน้ำมาเย็บคลุมผ้าอ้อมผ้า ทำให้ผ้าอ้อมมีสมบัติในการกันน้ำได้ และในการตรึงผ้าอ้อมให้อยู่กับตัวเด็ก เธอก็ได้ทำเป็นกระดุมติดแทนการใช้เข็มกลัดแบบเดิม เธอได้จดสิทธิบัตรเกี่ยวกับการทำผ้าอ้อมกันน้ำนี้ไว้ถึง 4 ฉบับ และต่อมาได้มีการพัฒนาเป็นผ้าอ้อมสำเร็จรูปที่สามารถดูดซับของเหลวได้ปริมาณมาก และไม่ชื้นแฉะ ถูกใจทั้งคุณพ่อคุณแม่ และลูกน้อย ผ้าอ้อมสำเร็จรูปจึงเป็นที่นิยมแพร่หลายไปทั่วโลก
คิดค้นน้ำยาป้ายคำผิด ... อย่างเลขาฯ มืออาชีพ
เรื่องนี้ได้สอนว่า ปัญหาได้นำมาซึ่งนวัตกรรมใหม่ๆ หากรู้จักแก้ไขดัดแปลง เช่น นางเบ็ต เนสมิธ เกรแฮม เลขานุการที่ได้รับมอบหมายให้พิมพ์งานตลอดเวลา และเวลาที่เธอต้องเจอกับปัญหาการพิมพ์ผิด แม้ใช้ยางลบดินสอเป็นตัวช่วยลบแล้ว แต่ก็ล่าช้าและไม่เรียบร้อย จึงต้องเสียเวลาพิมพ์ใหม่บ่อยๆ เธอจึงหาทางแก้ไขปัญหานี้ด้วยการประดิษฐ์น้ำยาลบคำผิดขึ้นมา จนกระทั่งในปี 1950 เธอก็ค้นพบวิธีทำน้ำยาลบหมึกแบบง่าย เพียงใช้สีน้ำสีขาวบรรจุลงไปในขวดน้ำยาทาเล็บ แล้วใช้พู่กันป้ายสีขาวลงบนกระดาษ แค่นี้คำที่ผิดก็ลบไป และพิมพ์ซ้ำทับได้แนบเนียน ทำให้ใช้งานได้สะดวกรวดเร็ว และแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ นี่คือจุดกำเนิดน้ำยาป้ายคำผิด "ลิควิด เปเปอร์"
มีการบอกต่อถึงสรรพคุณของน้ำยาป้ายคำผิดจนเป็นที่ต้องการของหลายคน นางเกรแฮมจึงผลิตออกจำหน่ายด้วยการผสมสีขาวลงในเครื่องปั่นน้ำยาก่อนกรอกใส่ขวดยาทาเล็บ เมื่อแรกเริ่มยังเป็นเพียงอุตสาหกรรมในครอบครัว แต่เมื่อพบว่าเป็นที่นิยมชมชอบมาก จึงขยายกิจการน้ำยาป้ายคำผิดออกจำหน่ายไปทั่วโลก และต่อมาเธอได้ขายกิจการดังกล่าวให้บริษัท ยิลเล็ต (Gillette) ในที่สุด
มีการบอกต่อถึงสรรพคุณของน้ำยาป้ายคำผิดจนเป็นที่ต้องการของหลายคน นางเกรแฮมจึงผลิตออกจำหน่ายด้วยการผสมสีขาวลงในเครื่องปั่นน้ำยาก่อนกรอกใส่ขวดยาทาเล็บ เมื่อแรกเริ่มยังเป็นเพียงอุตสาหกรรมในครอบครัว แต่เมื่อพบว่าเป็นที่นิยมชมชอบมาก จึงขยายกิจการน้ำยาป้ายคำผิดออกจำหน่ายไปทั่วโลก และต่อมาเธอได้ขายกิจการดังกล่าวให้บริษัท ยิลเล็ต (Gillette) ในที่สุด
กำเนิดตุ๊กตาบาร์บี้ ... แม่ผู้สร้างสรรค์เพื่อลูก
ความรักและเอาใจใส่ในบุคคลรอบข้าง ทำให้ผู้หญิงมีไอเดียอยากจะพัฒนาสิ่งใหม่ให้ดีกว่าเดิม ดังเห็นได้จาก นางรูธ แฮนด์เลอร์ ได้สังเกตเห็นว่า ลูกสาวของตนที่ชื่อ บาร์บาร่า นั่งเล่นตุ๊กตากระดาษ จึงมีความคิดสร้างสรรค์ที่จะพัฒนาตุ๊กตาทรง 3 มิติที่เปลี่ยนชุดได้ตามที่ลูกต้องการขึ้นมา จนกระทั่งคุณแม่ชาวอเมริกาผู้นี้ได้มีโอกาสเดินทางไปพักผ่อนที่สวิตเซอร์แลนด์ และไปเห็นตุ๊กตาตัวหนึ่งที่มีชื่อว่า ลิลลี่ มีลักษณะเป็นรูปทรง 3 มิติ ตรงตามที่เคยคิด และต้องการทำ พอกลับมาก็จัดทำโครงการตุ๊กตาบาร์บี้ขึ้น โดยไปออกแบบดีไซน์ และผลิตที่ญี่ปุ่น กระทั่งตุ๊กตาบาร์บี้ได้ถือกำเนิดขึ้น และเปิดตัวให้รู้จักอย่างเป็นทางการครั้งแรกเมื่อวันที่ 9 มีนาคม ค.ศ. 1959 ในงานแสดงของเล่นที่นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา
ปัจจุบันตุ๊กตาบาร์บี้ได้รับความนิยมจากเด็กผู้หญิงทั่วโลก และพัฒนารูปแบบและหน้าตามากมายนับพันแบบ
ปัญหาผู้หญิง ... ที่ผู้หญิงต้องช่วยกัน
ปัจจุบันตุ๊กตาบาร์บี้ได้รับความนิยมจากเด็กผู้หญิงทั่วโลก และพัฒนารูปแบบและหน้าตามากมายนับพันแบบ
ปัญหาผู้หญิง ... ที่ผู้หญิงต้องช่วยกัน
ปัญหาเฉพาะเรื่องที่ผู้หญิงจะเป็นผู้เข้าใจ และพร้อมจะช่วยกันคิด ช่วยกันพัฒนาสิ่งใหม่ๆ ในการดูแลผู้หญิงด้วยกัน ดังเช่น ปัญหาภาวะตั้งครรภ์ขณะที่ไม่มีความพร้อม ทำให้ผู้หญิงที่ชื่อว่า แคทเธอรีน เดกซ์เทอร์ คิดค้นวิธีคุมกำเนิด โดยพัฒนายาคุมกำเนิดเป็นครั้งแรก และต่อมา นางแมรี่แอน ลีเบอร์ ก็ได้ประดิษฐ์ถุงยางอนามัยผู้หญิงเพื่อคุมกำเนิดภายนอกอีกด้วย
ประจำเดือนที่ผู้หญิงต้องมีนัดตกไข่กันทุกเดือน เมื่อก่อนการใช้วัสดุดูดซับประจำเดือนจะไม่สะดวก เพราะบางพื้นที่จะใช้ผ้าฝ้าย บางพื้นที่ใช้แผ่นหนังดูดซับ ต่อมาในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 พยาบาลสาวชาวฝรั่งเศสผู้หนึ่งสังเกตเห็นว่าการดูดซับเลือดของเส้นใยประเภทต่างๆ มีความแตกต่างกัน จึงได้พัฒนาแผ่นผ้าอนามัยที่ชื่อว่า โกเท็กซ์ ซึ่งสามารถดูดซับได้ดีมาก ผ้าอนามัยจึงกำเนิดขึ้นในยุคนี้ และพัฒนาประสิทธิภาพให้ดีขึ้นเรื่อยๆ
แม้ธรรมชาติไม่ได้สร้างให้ผู้หญิงเป็นเพศที่ทรงพลัง และมีสรีระแข็งแกร่งเท่ากับผู้ชาย แต่ความอ่อนโยน ช่างคิด ช่างสังเกตของสตรีเพศ ก็ช่วยสร้างสรรค์ผลงานที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงในชีวิตประจำวัน และสร้างมูลค่าทั้งด้านสังคมและเศรษฐกิจได้มหาศาล
ประจำเดือนที่ผู้หญิงต้องมีนัดตกไข่กันทุกเดือน เมื่อก่อนการใช้วัสดุดูดซับประจำเดือนจะไม่สะดวก เพราะบางพื้นที่จะใช้ผ้าฝ้าย บางพื้นที่ใช้แผ่นหนังดูดซับ ต่อมาในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 พยาบาลสาวชาวฝรั่งเศสผู้หนึ่งสังเกตเห็นว่าการดูดซับเลือดของเส้นใยประเภทต่างๆ มีความแตกต่างกัน จึงได้พัฒนาแผ่นผ้าอนามัยที่ชื่อว่า โกเท็กซ์ ซึ่งสามารถดูดซับได้ดีมาก ผ้าอนามัยจึงกำเนิดขึ้นในยุคนี้ และพัฒนาประสิทธิภาพให้ดีขึ้นเรื่อยๆ
แม้ธรรมชาติไม่ได้สร้างให้ผู้หญิงเป็นเพศที่ทรงพลัง และมีสรีระแข็งแกร่งเท่ากับผู้ชาย แต่ความอ่อนโยน ช่างคิด ช่างสังเกตของสตรีเพศ ก็ช่วยสร้างสรรค์ผลงานที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงในชีวิตประจำวัน และสร้างมูลค่าทั้งด้านสังคมและเศรษฐกิจได้มหาศาล
ผู้เขียน : ฤทัย จงสฤษดิ์
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ